facebook banner
logotype

การวิเคราะห์แนวโน้มสำหรับผู้เริ่มต้น

วัฏจักรของเศรษฐกิจ

วัฏจักรของเศรษฐกิจเป็นช่วงเวลาที่เศรษฐกิจของตลาดหนึ่งมีการขึ้นและลงเป็นรอบๆและวนเวียนซ้ำกันไปเรื่อยๆ ซึ่งปัจจัยหลักๆในการวิเคราะห์ว่าในช่วงเวลานั้นๆเศรษฐกิจดีหรือแย่ก็มักจะดูในส่วนของการขยายตัวในการลงทุนและการผลิต รายได้ของประชากร การจ้างงาน อัตราดอกเบี้ย และอื่นๆ ซึ่งวัฏจักรของเศรษฐกิจก็จะแบ่งเป็น 4 ช่วงด้วยกันคือ ช่วงขยายตัว ช่วงสูงสุด ช่วงถดถอย และช่วงต่ำสุด

ช่วงขยายตัว

หลังจากผ่านช่วงต่ำสุดไปแล้วก็จะถึงช่วงของการฟื้นตัว ซึ่งจะดูได้จากการเติบโตในการจ้างการและการผลิต นักเศรษฐศาสตร์หลายคนเชื่อว่าในช่วงนี้จะมีอัตราเงินเฟ้อที่ต่ำจนกระทั่งเศรษฐกิจเริ่มมีการขยายตัวจนถึงจุดสูงสุด

ช่วงสูงสุด

ช่วงสูงสุดของเศรษฐกิจนี้เป็นจุดที่มีอัตราการจ้างงานที่สูงมาก และเศรษฐกิจมีการขยายตัวอย่างรวดเร็ว ซึ่งแรงงานรวมถึงเงินทุนของประเทศเกือบทั้งหมดถูกใช้ไปในการผลิตและการลงทุน ในช่วงนี้โดยปกติอัตราเงินเฟ้อจะสูงขึ้น

ช่วงถดถอย

ช่วงเศรษฐกิจถดถอยเป็นช่วงที่ปริมาณการผลิตและการลงทุนได้ลดน้อยลงและมีอัตราการจ้างงานที่ต่ำลงด้วย นักเศรษฐศาสตร์หลายคนเชื่อว่าช่วงถดถอยนี้จะกินเวลาตั้งแต่ 6 เดือนขึ้นไป

ช่วงต่ำสุด

ช่วงนี้จะเป็นช่วงหลังจากช่วงถดถอย และเป็นช่วงที่มีปริมาณการผลิตและการจ้างงานต่ำที่สุด เชื่อกันว่าช่วงเวลานี้จะไม่กินเวลามาก แต่อย่างไรก็ตามยังมีกรณียกเว้น เช่นเหตุการณ์ The Great Depression ในช่วงทศวรรษที่ 1930 กินเวลาเกือบ 10 ปีด้วยกัน

วัฏจักรเศรษฐกิจรอบที่ใช้เวลานานจะกินเวลาประมาณ 10 ปีขึ้นไป ซึ่งวัฏจักรนี้ก็จะมีการตั้งชื่อตามนักวิจัยที่ได้มีการศึกษานี้

  • Investment cycles (7-11 ปี) ศึกษาโดย Clement Juglar
  • Infrastructure investment cycles (15-25 ปี) ศึกษาโดย Simon Kuznets
  • Series of Kondratieff (45-60 ปี) อธิบายโดยนักเศรษฐศาสตร์ชาวรัสเซียชื่อ Nikolai Kondratiev
  • Cycles of Forrester (200 ปี) อธิบายโดยวิศกรชาวอเมริกาชื่อ Jay Forrester

วัฏจักรเศรษฐกิจนี้ก็จะมีความแตกต่างกันไปในด้านของช่วงเวลาและความรุนแรงของเหตุการณ์ในแต่ละช่วง สำหรับเศรษฐกิจในปัจจุบัน การขึ้นลงของการดำเนินงานธุรกิจจะสามารถเห็นได้ชัดเจน และในส่วนของช่วงวิกฤตจะกินเวลายาวนานขึ้น แต่ความรุนแรงก็ได้ลดลงด้วย และโดยส่วนใหญ่ในช่วงที่วิกฤตความรุนแรงจะเกิดเหมือนเพียงแค่ช่วงถดถอยเท่านั้น

นอกจากการเปลี่ยนแปลงในการดำเนินการธุรกิจที่มีผลทั้งทางตรงและทางอ้อมกับวัฏจักรเศรษฐกิจแล้ว ยังมีปัจจัยอื่นๆที่ยังมีผลกระทบกับวัฏจักรนี้อีกด้วย ตัวอย่างที่สำคัญเช่น ฤดูกาลและแนวโน้มการเปลี่ยนแปลงในระยะยาว ปัจจัยทางด้านฤดูกาลเช่นเมื่อถึงช่วงคริสมาสต์หรือช่วงเทศกาลอีสเตอร์ก็จะมีการจับจ่ายใช้สอยเพิ่มขึ้นมากจากวันธรรมดา อุตสาหกรรมอื่นๆเช่นอุตสาหกรรมเกษตรและรถยนต์ก็ได้รับผลกระทบจากฤดูกาลนี้ด้วย ส่วนแนวโน้มการเปลี่ยนแปลงในระยะยาวจะเกี่ยวข้องกับการเติบโตของเศรษฐกิจว่ามีมากหรือน้อยเพียงใด

วัฏจักรเศรษฐกิจส่วนใหญ่จะเกี่ยวข้องกับผลิตภัณฑ์มวลรวมภายในประเทศ (GDP) และเป็นดัชนีชี้วัดอย่างหนึ่งที่มีประสิทธิภาพ ซึ่งในช่วงเศรษฐกิจขยายตัวนั้นก็จะมี GDP ที่สูงขึ้นตามด้วย โดยปกติในช่วงตั้งแต่ 6 เดือนขึ้นไป ถ้าการเติบโตของ GDP ลดลง เศรษฐกิจก็จะมีการหดตัวลงด้วย

ในวัฏจักรเศรษฐกิจที่กินเวลานานๆเช่น 50-60 ปีนั้น ก็มักจะประกอบไปด้วยวัฏจักรเศรษฐกิจย่อยๆที่กินเวลาประมาณ 10 ปี วัฏจักรนี้ศึกษาโดยนักเศรษฐศาสตร์ชาวรัสเซียชื่อ Kondraty โดยวัฏจักรเศรษฐกิจที่ยาวนานนั้นจะมีพื้นฐานบนการเปลี่ยนแปลงของความต้องการทางด้านเทคโนโลยี, การออกแบบ และผลิตภัณฑ์ ซึ่งในการเปลี่ยนแปลงของยุคอุตสาหกรรมช่วงหลังนั้นจะตรงกับคลื่นที่ 5 ที่ยาวที่สุดในวัฏจักรของ Kondratyev สำหรับในช่วงของการเริ่มต้นในวัฏจักรใหม่นั้นจะเกี่ยงข้องกับการเปลี่ยนแปลงโครงสร้างเศรษฐกิจในด้านเทคโนโลยีทางวิทยาศาสตร์เป็นหลัก

การวิเคราะห์กราฟ

กราฟจะเป็นการแสดงราคาเรียงลำดับตามเวลาไปเรื่อยๆ ซึ่งความถี่ในการแสดงราคาก็จะขึ้นอยู่กับช่วงเวลาที่เราเลือก เช่น ทุก 5 นาที, 25 นาที, 1 ชั่วโมง เป็นต้น

ประเภทของกราฟ

กราฟมีทั้งหมด 3 ประเภทด้วยกัน

  • กราฟเส้น (Line) (รูปที่ 1)
  • กราฟแท่ง (Bar) (รูปที่ 2)
  • กราฟแท่งเทียน (Candlestick) (รูปที่ 3)

กราฟแท่งกับกราฟแท่งเทียนนั้นจะให้รายละเอียดของราคามากกว่า เช่น ราคาเปิด ราคาปิด ราคาต่ำสุด และราคาสูงสุด

แนวรับและแนวต้าน (Support and Resistance)

แนวรับและแนวต้านนั้นจะเป็นราคาที่ยากที่จะหลุดลงไปหรือทะลุขึ้นไปได้ ในตลาดที่มีการเคลื่อนไหวของราคาไม่ผันผวนมากก็จะเห็นแนวรับแนวต้านได้ชัดเจน ซึ่งแนวรับแนวต้านนี้จะเป็นระดับที่อุปสงค์และอุปทานมีเท่ากัน อย่างไรก็ตามเมื่อราคามีการทะลุแนวรับหรือแนวต้าน แนวรับเก่าก็จะกลายเป็นแนวต้านใหม่ (รูปที่ 4) และแนวต้านเก่าก็จะกลายเป็นแนวรับใหม่ (รูปที่ 5)

นอกจากนี้ราคาต่ำสุดและสูงสุดในช่วงเวลาหนึ่งก็สามารถที่จะเป็นแนวรับและแนวต้านได้ (รูปที่ 6 และ 7) เมื่อราคาได้เข้าไปใกล้จุดต่ำสุดหรือจุดสูงสุดนี้ ตลาดจะจดจำได้ว่าจุดนี้แรงซื้อและแรงขายมีความใกล้เคียงกัน และเมื่อราคาถึงแนวรับคนส่วนใหญ่ก็จะเริ่มซื้อ และเมื่อราคาถึงแนวต้านคนส่วนใหญ่ก็จะทำการขาย แต่ถ้าเกิดราคาได้ทะลุแนวรับหรือแนวต้านจะเกิดเป็นสัญญาณว่าราคาจะอ่อนตัวหรือแข็งค่าขึ้นไปได้มากขึ้นอีก



โดยปกติถ้าราคามีการทะลุแนวรับหรือแนวต้าน (breakout) แล้วราคาอาจจะมีการเด้งกลับไปที่เดิมได้ ซึ่งเราควรจะต้องมีเงื่อนไขในการตรวจสอบก่อนว่าราคานั้นมีโอกาสทะลุแน่นอน เงื่อนไขอาจจะเป็นเมื่อมีแท่งราคาจำนวน 2-3 แท่งติดกันได้ทะลุแนวรับหรือแนวต้านลงมาแล้วก็ได้ ซึ่งเงื่อนไขก็มีหลากหลายประเภทด้วยกัน เช่นอาจจะดูจำนวนจุดที่ทะลุแนวรับแนวต้าน หรือดูที่ตัวราคาที่ทะลุแนวออกมาว่าเป็นเท่าไหร่

จากรูปแสดงแนวรับแนวต้าน: กราฟแท่ง (รูปที่ 9), กราฟแท่งเทียน (รูปที่ 10), จุดต่ำสุด (รูปที่ 11) และจุดสูงสุด (รูปที่ 12)

แนวโน้ม (Trend)

ในการที่จะดูว่าราคานั้นมีแนวโน้มขาขึ้นหรือขาลงนั้นก็จะวิธีการสังเกต ถ้าเป็นแนวโน้มขาขึ้นจุดต่ำสุดของปัจจุบันจะอยู่สูงกว่าจุดต่ำสุดของเมื่อก่อนและจุดสูงสุดของปัจจุบันก็จะอยู่สูงกว่าจุดสูงสุดของเมื่อก่อนด้วย ส่วนแนวโน้มขาลงนั้นจุดต่ำสุดของปัจจุบันจะอยู่ต่ำกว่าจุดต่ำสุดของเมื่อก่อนและจุดสูงสุดของปัจจุบันก็จะอยู่ต่ำกว่าจุดสูงสุดของเมื่อก่อนด้วย

ช่วงการเทรด (Trading range)

ช่วงของการเทรดจะไม่เหมือนกับเส้นแนวโน้ม ซึ่งช่วงของการเทรดนั้นจะเป็นเส้นแนวนอนลากผ่านจุดต่ำสุดและจุดสูงสุดที่อยู่ในระดับเดียวกันหลายจุดต่อเนื่องกันในช่วงเวลานั้นๆ (รูปที่ 15)